
ให้อภัยกับให้โอกาสเป็นคนละส่วนกัน
การให้อภัย คือ การยกโทษทางจิตใจในสิ่งผิดที่เขาทำต่อเรา
การให้อภัยมีสองระดับครับระดับแรกคือ
ให้อภัยเมื่อรู้สึกว่าเขารับผิดและแก้ไขอย่างดีแล้ว
เมื่อคนคนหนึ่งทำไม่ดีกับเรา
และเขาได้รับโทษของความผิดนั้น
และเขาพยายามชดใช้ต่อสิ่งนั้น
เขาขอโทษ
เขาแก้ไข
เขาชดใช้
เขาเสียใจ
ทำให้ความรู้สึกของความโกรธแค้นของเราบรรเทาเรารู้สึกว่าเราให้อภัยเขาได้
เราจึงให้อภัยระดับที่สองคือให้อภัยโดยไม่ขึ้นกับว่าคนที่ทำผิดนั้นจะเป็นอย่างไร
จะเสียใจ จะชดใช้ จะรับโทษหรือเปล่าแต่เราก็ให้อภัยเขาได้
ทั้งสองอย่างนี้ล้วนต้องใช้เวลาและการตัดสินใจด้วยกันทั้งนั้น
แต่อย่างที่สองยากกว่าบางครั้งเราไม่ให้อภัยบางคน
เพราะคิดว่าเราทำไม่ได้มันยากเกินไป มันหนักหนาเกินไป
หรือไม่เราก็รู้สึกว่า เราไม่อยากให้อภัย เราจะเก็บความโกรธแค้นนี้ไว้
เพราะเขาไม่สมควรได้รับการให้อภัยแต่ในขณะเดียวกันนั้น
เรากลับไม่รู้ตัวว่าจิตใจที่โกรธแค้นนั้นมาพร้อมกับการกัดกินหัวใจ
และมันทำร้ายเราเสมอ ไม่เคยทำร้ายคนที่ทำผิดกับเราเลย
มันคือยาพิษที่เราดื่มเข้าไปทุกวัน
และตั้งจิตปณิธานว่าทุกครั้งที่เราดื่มยาพิษนั้น
จะทำให้คนที่เราโกรธแค้นนั้น ต า ย
ซึ่งมันไม่ใช่ การให้อภัย ไม่ได้ทำให้เขาพ้นผิดครับ
แต่ทำให้เราพ้นจากจิตใจที่เคียดแค้นและเจ็บปวดต่างหาก
มันแก้ไขอดีตไม่ได้ แต่มันปลดปล่อยเราจากที่คุมขังจองจำ
ไปสู่อนาคตที่สดใสกว่าคนที่ทำได้คือคนที่ชนะไม่ใช่พ่ายแพ้
จริงๆ แล้วการให้อภัยกับการให้โอกาสเป็นคนละส่วนกันครับ
เราให้อภัยแต่ไม่ให้โอกาสได้เพราะการให้อภัยคือการยกโทษทางจิตใจ
ที่ปลดปล่อยตัวเราจากการถูกทำร้ายทางใจ
แต่การให้โอกาสต้องมาพร้อมกับการพิสูจน์ตัวเองของคนทำผิด
ถ้าคนทำผิดไม่ได้กลับใจ ไม่ได้เสียใจ
เราไม่จำเป็นต้องให้โอกาสเสมอไป
และบางครั้งเขายังต้องรับโทษจากความผิดนั้น
แต่ส่วนของเรานั้นแค่เดินออกมา แล้วยกโทษให้เขา
ออกจากที่คุมขังแห่งความแค้นใจ
เอาชีวิตของเรากลับคืนมาใหม่เป็นของเรา
และเอาไปใช้ให้มีความสุขกับการเริ่มต้นใหม่ดีกว่า
การให้อภัย ทำให้เราได้ชีวิตของเรากลับมา
ที่มา : bitcoretech